โอกาสและความท้าทาย

ปัจจุบันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสากล ในขณะที่การดำเนินธุรกิจมีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้องค์กรอาจต้องเผชิญกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงจากกิจกรรมของบริษัท หรือจากกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การละเมิดสิทธิชุมชน การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม จากประเด็นดังกล่าว องค์กรจำเป็นต้องตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าว เช่น ความเสี่ยงด้านข้อกำหนดและกฎหมาย ด้านชื่อเสียงและความเชื่อมั่น เป็นต้น

การบริหารจัดการและกลยุทธ์

บี.กริม เพาเวอร์ วางแนวทางในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมของบริษัท และบริษัทภายใต้การควบคุม ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ โดยยึดตามหลักนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท และมาตรฐานและหลักการสากลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมวางแผนให้ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk & Impact Assessment) ในทุกๆ สามปี เพื่อระบุมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ พร้อมรายงานผลการประเมินและผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการกำหนดกระบวนการและช่องทางรับข้อร้องเรียนในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

บี.กริม เพาเวอร์ วางแนวทางในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมของบริษัท และบริษัทภายใต้การควบคุม ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ โดยยึดตามหลักนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท และมาตรฐานและหลักการสากลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมวางแผนให้ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk & Impact Assessment) ในทุกๆ สามปี เพื่อระบุมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ พร้อมรายงานผลการประเมินและผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการกำหนดกระบวนการและช่องทางรับข้อร้องเรียนในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ทุก ๆ สามปี เพื่อระบุมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ อาทิ กิจการร่วมค้าและการควบรวบกิจการ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ได้แก่ พนักงานทุกคนในการดำเนินงานของบริษัท คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ แรงงานบุคคลที่สาม คนพิการ สตรีมีครรภ์ และกลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI+) การดำเนินการดังกล่าว ถูกพัฒนาขึ้นตามหลักการชี้แนะว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ซึ่งประกอบด้วย การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน การบูรณาการและการจัดการภายใน การติดตามและรายงานประสิทธิภาพ และการเยียวยาผลกระทบ

การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน
กำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อวางแนวทางในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมของบริษัท และบริษัทภายใต้การควบคุม ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ สอดคล้องกับหลักการชี้แนะว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ประกอบด้วยเสาหลักสามด้าน ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การเคารพสิทธิมนุษยชน และการเยียวยา
นอกจากนี้ยังประกาศ “ความมุ่งมั่นในการต่อต้านการเลือกปฏิบัติและต่อต้านการคุกคาม” มีจุดประสงค์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้พนักงานแต่ะละคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติและการคุกคามใดๆ รวมถึงการคุกคามทางเพศ
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับหลักการชี้แนะว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (UNGP) ซึ่งกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกสามปี มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบ ระบุและประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีโอกาสเกิดขึ้นในกิจกรรมของบริษัทและห่วงโซ่คุณค่า โดยมีกระบวนการดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน: การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

การบูรณาการและการจัดการภายใน

พิจารณาผลจากการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท อาทิ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และแนวทางการปรับปรุงการดำเนินการหรือมาตรการต่าง ๆ ในปัจจุบัน เพื่อนำผลประเมินฯ มาพัฒนาและบูรณาการให้เกิดเป็นแนวทางในการบริหารจัดการอย่างครอบคลุม และสามารถควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

การติดตามและรายงานประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิมนุษยชนของบี.กริม เพาเวอร์ ทำหน้าที่ติดตามและทบทวนมาตรการทางด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรเป็นประจำทุกปี ให้เป็นไปตามหลักนโยบายและแนวทางปฏิบัติสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิด ตลอดจนการรายงานผลการประเมินและผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

การเยียวยาผลกระทบ

จัดช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เพื่อรายงานข้อกังวล รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน whistle-blowing@bgrimmpower.com เราจะดำเนินการสอบสวนเรื่องข้อข้องใจ อย่างเป็นกลางและครอบคลุมโดยผ่านขั้นตอนการร้องทุกข์โดยทันที ทั้งนี้การรายงานจะได้รับการปฏิบัติเป็นความลับเท่าที่เป็นไปได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ นโยบายการแจ้งเบาะแสและการร้องทุกข์

บี.กริม เพาเวอร์ ได้เตรียมการดำเนินการแก้ไขเพื่อฟื้นฟูผู้ถือสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบซึ่งได้รับอันตรายจากกิจกรรมทางธุรกิจของเรา บริษัทกำหนดรูปแบบการเยียวยาใดๆ ที่จะแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์สามารถเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น การขอโทษ การชดใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยทางการเงินหรือที่ไม่ใช่ทางการเงิน การลงโทษ และการป้องกันอันตราย

ช่องทางการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดและการร้องทุกข์ด้านสิทธิมนุษยชน
หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เลขที่่ 5 อาคารไวท์เฮ้าส์ (White House Building) ชัั้น 5 แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

ผลการดำเนินงานปี 2566

การอบรมและติดตามด้านสิทธิมนุษยชน

ในปี 2566 เรายังคงมุ่งมั่นดำเนินการตามนโยบายสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิมนุษชนแก่พนักงานและคู่ค้า ดังนี้

  • มีพนักงานเข้าร่วมการอบรมและผ่านการทดสอบจรรยาบรรณธุรกิจ1 คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด
  • จัดอบรมหัวข้อ พื้นฐานการจัดทำกระบวนการติดตามตรวจสอบสิทธิมษุยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงความสำคัญและหลักการในการส่งเสริมความหลากหลายความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมในการจ้างงานของภาคธุรกิจ ให้กับพนักงานตั้งแต่ระดับผู้จัดการทุกหน่วยงานขึ้นไป โดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร
  • คู่ค้ารับทราบจรรยาบรรณและแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า1 คิดเป็นร้อยละ 100 ของคู่ค้าใหม่

1 การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของจรรยาบรรธุรกิจ และ จรรยาบรรณและแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

ในรอบปี 2566 บี.กริม เพาเวอร์ ไม่ได้รับการแจ้งหรือมีข้อร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงไม่มีการดำเนินการเยียวยา ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงประเมินและตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในเชิงรุกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเคารพสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน และเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการบรรเทาผลกระทบมีความเหมาะสมตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

บี.กริม เพาเวอร์จัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนล่าสุดในปี 2564 มีแนวทางและผลการประเมินฯ ดังนี้

ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รายละเอียด กิจกรรมที่มีความเสี่ยง ผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบ
A: สุขภาพและความปลอดภัย ของพนักงานที่โรงไฟฟ้า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น กับพนักงานระหว่าง การปฏิบัติการที่ โรงไฟฟ้า การปฏิบัติการ(Operation) พนักงาน (แรงงาน)ที่อยู่ในระหว่าง ช่วงการก่อสร้างและการซ่อมแซม ทั้งในสถานปฏิบัติการเดิมและใหม่
  • พัฒนาคู่มือด้านสุขภาพและความปลอดภัย สำหรับการทำงานที่โรงไฟฟ้า
  • กำหนดมาตรการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
  • ตรวจประเมินความเสี่ยงของงานและบังคับใช้ หลักการด้านความปลอดภัยของงานที่เหมาะสม
  • จัดฝึกซ้อมเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย ของพนักงานที่โรงไฟฟ้าเป็นประจำ
  • จัดให้มีการพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัย (“Safety Talk”) เพื่อแบ่งบันความรู้และ ประสบการณ์ รวมถึงตัวอย่างอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นในอดีตและมาตรการป้องกัน
B: สุขภาพและความปลอดภัยของผู้รับเหมา ผู้รับเหมาประสบอุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูงขณะทำงานบนเสาไฟฟ้า การก่อสร้าง (Construction) คู่ค้า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมารายย่อย รวมถึงแรงงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการก่อสร้างและการบำรุงรักษาทั้งในสถานปฏิบัติการเดิมและใหม่
  • ตรวจประเมินคู่ค้า รวมถึงบูรณาการประเด็นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยเข้ากับรายการตรวจสอบและดำเนินการเข้าไปมีส่วนร่วมกับคู่ค้าเพื่อที่จะแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
  • ดำเนินการตรวจสอบความเสี่ยงของงานและบังคับใช้หลักการด้านความปลอดภัยของงานที่เหมาะสม
  • จัดทำคู่มือการทำงานและการฝึกซ้อมเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา
  • ดำเนินการพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัย (“Safety Talk”) เพื่อแบ่งบันความรู้และประสบการณ์ รวมถึงตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอดีตและมาตรการป้องกัน
ผู้ได้รับผลกระทบ ผลการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนปี 2564
การดำเนินงานของบริษัท
  • ร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการได้รับการประเมินผลกระทบฯ (53 แหล่ง)
  • พื้นที่ปฏิบัติการที่ถูกประเมินร้อยละ 52.8 มีความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนสูง (28 แห่ง)
  • ร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงสูงได้มีการกำหนดแนวทางแก้ไขและมาตรการบรรเทาแล้ว (28 แห่ง)
คู่ค้าทั่วไปลำดับที่ 1
  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าทั่วไปลำดับที่ 1 ได้รับการประเมินผลกระทบฯ (1,279 ผู้จำหน่าย)
  • ไม่มีคู่ค้าทั่วไปลำดับที่ 1 ที่ถูกประเมินรว่ามีความเสี่ยงสูงทางด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าทั่วไปลำดับที่ 1 ได้มีการกำหนดแนวทางแก้ไขและมาตรการบรรเทาแล้ว
กิจการร่วมค้า
  • ร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการของกิจการร่วมค้าได้รับการประเมินผลกระทบฯ (9 แห่ง)
  • ไม่มีพื้นที่ปฏิบัติการของกิจการร่วมค้ามีความเสี่ยงสูงทางด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการของกิจการร่วมค้าได้มีการกำหนดแนวทางแก้ไขและมาตรการบรรเทาแล้ว