โอกาสและความท้าทาย

พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประชาคมโลกบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ขณะที่ผู้ให้บริการกลุ่มสาธารณูปโภคต่างเดินหน้าขยายสัดส่วนพลังงานทดแทน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม ซึ่งพื้นที่ตั้งของโครงการเหล่านี้มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ มากกว่าเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเดิมที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จึงต้องให้ความสำคัญต่อผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่การเลือกพื้นที่ตั้งโครงการ การสำรวจและประเมินผลกระทบ ตลอดจนการวางแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวปฏิบัติสากล เพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณนั้น

ผลการดำเนินงานและเป้าหมาย

เป้าหมาย ปี 2566 ปี 2567-2573
ผลงาน เป้าหมาย เป้าหมาย
โครงการที่ได้รับการประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ1 ทุก 5 ปี
(สัดส่วนต่อโครงการทั้งหมด)
100% 100% 100%
โครงการที่มีการดำเนินการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีที่ประเมินแล้วพบว่ามีผลกระทบ
(สัดส่วนต่อโครงการที่อาจมีผลกระทบ)
100% 100% 100%
โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องตามนิยามของ IUCN2 (โครงการ) 0 0 0
ร่วมมือกับองค์กรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลาย
ทางชีวภาพ
  • จัดทำรายงานข่าว Mission Tiger (ภารกิจเสือโคร่ง) ภายใต้โครงการ Save the Tigers เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา Best Infotainment Program จากงาน Asian Academy Creative Awards 2023
  • โครงการปลูกป่าและฟื้นฟูพันธุ์ไม้ในพื้นที่โครงการต่างๆ เช่น เขื่อนไฟฟ้าน้ำตกน้ำแจ 1 เขื่อนไฟฟ้าน้ำตกเซน้ำน้อยและเซกะตำ และโครงการปลูกป่าเพื่อลดสู่อนาคตที่ยั่งยืน Let’s Zero Together เป็นต้น
  • เข้าร่วมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen Science) เป็นต้น
  • โครงการ Save the Tigers ร่วมกับรัฐและองค์กรนอกภาครัฐ
  • โครงการความร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ขยายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกอย่างต่อเนื่อง

1 โดยการทบทวนการใช้ประโยชน์พื้นที่และประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
2 ครอบคลุมพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า พื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่มรดกโลก และพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องภายใต้พื้นที่คุ้มครองตามนิยามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) Category I-IV

การบริหารจัดการและกลยุทธ์

ความมุ่งมั่นของเรา

บี.กริม เพาเวอร์ ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการดูแล ป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานครอบคลุมทั้งด้านการจัดการและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพืช ตลอดจนการปกป้อง ดูแลรักษาแหล่งน้ำ พื้นที่ป่า และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เรามุ่งมั่นพัฒนาและดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย มีการติดตามตรวจสอบ และกระบวนการการฟื้นฟูหรือชดเชย ตลอดจนการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่า

โดยในปี 2565 เราได้ประกาศพันธสัญญาด้านการอนุรักษ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรป่าไม้ ครอบคลุมถึงบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การควบคุมตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญ รวมถึงได้สื่อสารความคาดหวังไปยังคู่ค้า (Tier-1 Suppliers) คู่ค้าทางอ้อม (Non-tier 1 Suppliers) และพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อรับทราบและส่งเสริมให้นำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตน เพื่อสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ร่วมกันเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้

มุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Net Positive Impact: NPI)

อย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ โดยกำหนดและบรรลุผลแล้วตั้งแต่ปี 2564

มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation)

อย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ โดยกำหนดและบรรลุผลแล้วตั้งแต่ปี 2564

มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมการดำเนินงานในพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า
พื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่มรดกโลก และพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องภายใต้พื้นที่คุ้มครองตามนิยามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) Category I-IV

โครงสร้างการกำกับดูแล

บี.กริม เพาเวอร์ ส่งเสริมและผลักดันการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ และพืช ตลอดจนการปกป้องดูแลรักษาแหล่งน้ำ พื้นที่ป่า และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เพื่อให้ผลการดำเนินการ เป้าหมาย และการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุด หรือแนวโน้มที่ดีในระดับสากล และมีแนวทางในการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยวางโครงสร้างการกำกับดูแล ดังนี้

ส่วนงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

จัดทำฐานข้อมูลโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Data base of Biodiversity) และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน การประเมิน รวมทั้งการวิเคราะห์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Guideline) โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนากับหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแลโดยตรง นำเสนอต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในสายงาน คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อเผยแพร่และใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติด้านความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับโครงการปัจจุบัน รวมถึงโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คณะทำงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม และ/หรือ เจ้าของโครงการ

ทำงานร่วมกับเจ้าของโครงการ ศึกษาและประเมินความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่กำลังจะพัฒนาโครงการ กำกับดูแล ติดตามให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวข้อง รวมทั้งนโยบายและพันธสัญญาของบริษัท

ส่วนงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับทีม BGP Community และฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม

เพื่อสื่อสารนโยบาย แนวทางการปฏิบัติงาน ข้อมูลโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นำไปสู่การปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการขององค์กรให้เป็นตามเป้าหมายขั้นสูง หรือแนวโน้มที่ดีในระดับสากล

กลยุทธ์

มุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
และดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ

ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานบังคับที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ รวมถึงร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
กำหนดแนวปฏิบัติที่เคร่งครัด ครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่อาจเป็นอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางน้ำ สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทจะปฏิบัติตามหลักการ “Mitigation Hierarchy” หรือการบรรเทาผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพตามลำดับชั้น
จัดทำแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตลอดจนกำหนดกระบวนการเพื่อการติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ร่วมมือกับองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ
พัฒนาระบบข้อมูลและการตรวจสอบด้านผลกระทบต่อป่าไม้ และการตรวจทานการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินกิจกรรมของบริษัทในพื้นที่ที่อาจมีความเสี่ยงโดยครอบคลุมทั้งกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทและคู่ค้า
ร่วมมือกับคู่ค้าหลักและคู่ค้าทางอ้อมในการตรวจประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการตัดไม้ทำลายป่า ผ่านการประเมินความเสี่ยงประจำปี และ/หรือการตรวจประเมินคู่ค้าในสถานที่ปฏิบัติงาน (on-site audit)
สื่อสารเป้าหมาย และความคืบหน้าในการดำเนินงานในการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิเป็นประจำทุกปี
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของเราเป็นไปตามความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรป่าไม้ นอกเหนือจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ก่อนการดำเนินโครงการ บี.กริม เพาเวอร์ ยังมีการประเมินพื้นที่สำหรับดำเนินโครงการ โดยใช้รายการตรวจสอบความสอดคล้องของพื้นที่และประเมินความหลากหลายทางชีวภาพเบื้องต้น (Checklist of Project Screening: Biodiversity impact and Deforestation) เพื่อพิจารณาก่อนเริ่มดำเนินการ นำไปสู่การเตรียมแผนการรับมือผลกระทบในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยทำการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงและจัดทำกระบวนการจัดการที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานทั้งบนบกและในน้ำประกอบการพิจารณาอนุมัติการลงทุนก่อนการก่อสร้างโครงการ ซึ่งทุกโครงการที่ดำเนินการในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้รับการประเมินและตรวจสอบศักยภาพพื้นที่ในเบื้องต้นให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีการทบทวนการประเมินผลกระทบด้านพื้นที่ตั้งโครงการและความหลากหลายทางชีวภาพทุกๆ 5 ปี เพื่อเฝ้าระวัง และเตรียมการกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

โดยมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้

คัดกรองพื้นที่

เมื่อได้รับข้อมูลพื้นที่ตั้งโครงการจากฝ่ายพัฒนาโครงการแล้ว ฝ่ายสิ่งแวดล้อมร่วมกับฝ่ายพัฒนาโครงการ ดำเนินการประเมินพื้นที่เบื้องต้น โดยจะต้องไม่เป็นพื้นที่ห้ามดำเนินธุรกิจตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ รวมทั้งไม่ตั้งอยู่บนพื้นที่คุ้มครองตามนิยามและข้อตกลงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature: IUCN)

Tool : Checklist of Project Screening: Biodiversity impact and Deforestation

กำหนดขอบเขตพื้นที่การประเมินและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

กำหนดขอบเขตการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบความหลากทางทางชีวภาพ ในรัศมี 1 3 หรือ 5 กิโลเมตร จากพื้นที่ตั้งโครงการ (ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดโครงการ)* เพื่อประเมินทรัพยากรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นส่วนสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้เครื่องมือการประเมินความหลายหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ (Integrated Biodiversity Assessment Tool: IBAT) และ/หรือผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินโครงการไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการตัดไม้สุทธิเป็นศูนย์ (No Net Deforest) ในทุกพื้นที่ดำเนินการ ทั้งนี้ ในกรณีมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือมีการตัดป่าไม้ จะต้องฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่องรวมทั้งดำเนินการปลูกป่าเพื่อชดเชยป่าในปัจจุบัน

* ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ของโครงการโรงไฟฟ้าประเมินครอบคลุมถึงประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย

  • ทรัพยากรชีวภาพบนบก (ทรัพยากรป่าไม้, ทรัพยากรสัตว์ป่า) โดยลงพื้นที่สำรวจ ตรวจสอบข้อมูลสภาพพื้นที่ปัจจุบันและพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายบริเวณพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียงจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น แผนที่เขตป่าต่างๆ ข้อมูล GIS จากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ทรัพยากรชีวภาพทางน้ำ (แพลงก์ตอนพืช, แพลงก์ตอนสัตว์, สัตว์หน้าดิน) โดยเก็บตัวอย่างนิเวศวิทยาทางบกในพื้นที่ตามคลองหรือแหล่งน้ำในรัศมี 1 3 หรือ 5 กิโลเมตร ตามประเภทและขนาดโครงการ

รวมทั้งจัดให้มีพื้นที่สีเขียวในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่โครงการ เพื่อเป็นแนวกันชนและสร้างทัศนียภาพที่ดีสำหรับโรงไฟฟ้ากับชุมชน

จัดทำแผนป้องกันผลกระทบและดำเนินการตามแผน

ดำเนินการหาแนวทางป้องกันผลกระทบที่่อาจเกิดขึ้้นจากโครงการพร้อมมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาทิ มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่่งแวดล้อม และแผนปฏิบัติการสิ่่งแวดล้อมของโครงการ ทั้้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ การจัดทำแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan (BAP) สำหรับโครงการที่มีผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และทบทวนการใช้ประโยชน์พื้นที่และความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านทางเครื่องมือการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ (Integrated Biodiversity Assessment Tool: IBAT) ทุก 5 ปี สำหรับทุกโครงการเพื่อเฝ้าระวัง และเตรียมการกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กำหนดเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรป่าไม้ โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายในองค์กร รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น การสนับสนุนกิจกรรมความหลากหลายทางชีวภาพของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้และข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าร่วมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์ป่าชายเลน การอนุบาลสัตว์น้ำ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

นอกจากนี้บริษัทมีการผนวกความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพในการประเมินความเสี่ยงองค์กรสำหรับโครงการใหม่ และจัดทำรายการตรวจสอบการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Assessment Screening Checklist) สำหรับการพัฒนาโครงการ โดยแจ้งให้ทีมโครงการรับทราบเพื่อประเมินพื้นที่โครงการในระยะเริ่มต้นและตรวจสอบความคืบหน้าในการจัดหาพื้นที่พัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง

ข้อกำหนดและมาตรฐานที่เราใช้ประเมินและตรวจสอบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

    • รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment Report: EIA)
    • รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE)
    • ประมวลหลักปฏิบัติ (Code of Practice: CoP)
    • รายงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environment report: ER)
    • รายงานการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental & Safety Assessment: ESA)
    • แนวปฏิบัติด้านการจัดการเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ADB Safeguards Policy Framework: ESMS - Environment and Social Management System และ IFC Guidance Note 6: Biodiversity Conservation and Sustainable Management of Ecosystem Services and Living Resources

นอกจากนี้ เรายังใช้เครื่องมือเพื่อติดตามและตรวจสอบผ่านระบบฐานข้อมูลระดับสากลในการตรวจสอบสัตว์บกและสัตว์น้ำในพื้นที่ (World Database on Protected Areas: WDPA) และ การจัดการและติดตามด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับปฏิบัติการ (Environmental and Social Management and Monitoring – Operation Phase: ESMMP-OP) อีกด้วย

ทั้งนี้ ทุกโครงการที่ดำเนินการในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้รับการประเมินและตรวจสอบศักยภาพพื้นที่ในเบื้องต้นให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และสุุขภาพ ระหว่างการพัฒนาโครงการ

การประยุกต์ใช้ลำดับชั้นการบรรเทาผลกระทบ (Mitigation Hierarchy)

เพื่อให้มั่นใจว่าการเติบโตทางธุรกิจของเราจะส่งผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลง ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ บี.กริม เพาเวอร์ พยายามบรรเทาผลกระทบในพื้นที่ดำเนินการในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับโครงการก่อสร้างโดยทั่วไป โดยการใช้หลักการบรรเทาผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพในทุกลำดับชั้น (Mitigation Hierarchy) เพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ IUCN (International Union for Conservation of Nature)

การประยุกต์ใช้ลำดับชั้นการบรรเทาผลกระทบ (Mitigation Hierarchy)

การประยุกต์ใช้ลำดับชั้นการบรรเทาผลกระทบ (Mitigation Hierarchy)
การหลีกเลี่ยง (Avoid) เรามีนโยบายหลีกเลี่ยงกิจกรรมการดำเนินงานในพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า พื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่มรดกโลก พื้นที่ที่ได้รับการปกป้องภายใต้พื้นที่ คุ้มครอง IUCN Category I-IV และพื้นที่ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติ ทางเดินสัตว์ป่า ป่าสงวน ทั้งนี้โครงการของเราทั้งหมดในปัจจุบันไม่มีการดำเนินงานในพื้นที่ลักษณะดังกล่าว
การลดผลกระทบ (Reduce) มีการประเมินผลกระทบเบื้องต้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อนเริ่มโครงการ ในระยะก่อสร้างและดำเนินการ ควบคุมผลกระทบจากการดำเนินงาน เช่น ระดับเสียง คุณภาพอากาศ การระบายน้ำทิ้งตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามพารามิเตอร์ดังกล่าวสม่ำเสมอ โดยมีมาตรการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น การบำบัดมลพิษให้เป็นไปตามข้อกำหนด การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วน “การดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เสี่ยง”
การฟื้นฟู (Restore and Regeneration) มีการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงการให้เหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร รวมทั้งพื้นที่สำหรับสิ่งมีชีวิตในฤดูอพยพ เพื่อลดผลกระทบและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพจากการดำเนินงานหรือการก่อสร้าง รวมถึงการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นในพื้นที่สีเขียวและพื้นที่รอบโครงการ พร้อมดำเนินการติดตามและเปิดเผยผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านรายงานผลการศึกษาในรูปแบบของ Biodiversity and Ornithology Assessment Report สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วน “ผลการดำเนินงานปี 2566”
การปฏิรูป (Transform)

มีส่วนร่วมผลักดันกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ (National Biodiversity Strategies and Action Plan: NBSAPs) เช่น

  • การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ONEP)
  • การลงชื่อสนับสนุนการริเริ่มกลไกทางการเงินเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการดำเนินธุรกิจ
  • การเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านความหลากหลายทางชีวภาพของหน่วยงานภาครัฐและนอกภาครัฐ

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วน “การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย”

การดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เสี่ยง

จากการประเมินพบโครงการที่มีความเสี่ยง ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ลาดกระบัง หนองจอก และไทรน้อย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อพยพที่สำคัญสำหรับนกและสัตว์บางชนิด (IBA - Important Bird and Biodiversity Area) อ้างอิงจากระบบฐานข้อมูลระดับสากลในการตรวจสอบสัตว์บกและสัตว์น้ำในพื้นที่คุ้มครอง (World Database on Protected Areas: WDPA) เราจึงได้ดำเนินการศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนกในพื้นที่โครงการรวมทั้งโดยรอบ และกำหนดมาตรการและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) ดังนี้

แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP)
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีตกค้างในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรนกและสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการ
  • ดูแลรักษาพืชพรรณให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนก กรณีที่ต้องตัดหญ้า ให้ตัดในระดับความสูงที่รับได้โดยไม่ให้ถึงพื้นดิน
  • มีการฟื้นฟูพื้นที่โดยปลูกพืชท้องถิ่นที่โตเร็วในพื้นที่โล่งภายในโครงการ เช่น หญ้าสูง กลุ่มต้นกก เป็นต้น
  • ปรับปรุงถนนทางเข้าและริมรั้วโครงการเพื่อรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับนก และส่งเสริมการปลูกพืชในพื้นที่สาธารณะใกล้เคียงร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น
  • มีการบันทึกข้อมูลนกและสัตว์ป่าอื่นๆ ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในพื้นที่โครงการ เพื่อปรับปรุงมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพ
  • การติดตามการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของนกและความอุดมสมบูรณ์ของชนิดพันธุ์ภายในพื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบ
การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย

บี.กริม เพาเวอร์ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพต่อชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวมถึงสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายไม่ก่อผลกระทบกับความหลากหลายชีวภาพและการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และในฐานะสมาชิกของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact: UNGC) เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยร่วมมือกับทางรัฐบาล รวมถึงได้พูดคุยถึงแนวทางจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ระหว่าง บี.กริม เพาเวอร์ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ONEP) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนภายในภาคธุรกิจ นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าร่วมและให้การสนับสนุนกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านความหลากหลายทางชีวภาพของหน่วยงานภาครัฐและนอกภาครัฐ ดังนี้

  • จัดนิทรรศการและเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ในหัวข้อ “From agreement to Action: Build Back Biodiversity”
  • จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “การดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพกับความยั่งยืนในภาคธุรกิจ” (Situation and Trend of Biodiversity and Sustainability in the Business Sector) โดยกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • ลงชื่อสนับสนุนข้อตกลงร่วม (Joint agreement) ในโครงการการริเริ่มกลไกทางการเงินเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการดำเนินธุรกิจ (Finance for Biodiversity: Fin4Bio) ร่วมกับ 31 องค์กรจากภาครัฐ เอกชน และสถาบันทางการเงิน โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกในการระดมเงินทุน พัฒนามาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และระบุมาตรการที่เหมาะสมในการมุ่งสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรแก่ธรรมชาติ (Nature Positive Economy) ของแต่ละประเทศ
  • กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen science) โดยร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา เยาวชน ประชาชน และเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมต่อการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ

ผลการดำเนินงานปี 2566

หมายเหตุ:
1 ข้อมูลจากผลการสำรวจจำนวนชนิดพันธุ์นกในปี 2565 โดยกำหนดการสำรวจครั้งต่อไปในปี 2570
2 โครงการที่ดำเนินการทั้งหมด 62 โครงการ พื้นที่รวม 1,023.02 เฮกตาร์ (ลดลงจากปี 2565 82.79 เฮกตาร์ เนื่องจากมีการปรับขอบเขตการรายงาน โดยไม่รวมพื้นที่โรงพลังงานพลังแสงอาทิตย์ที่เป็นการร่วมค้า (Joint Venture))
3 จำนวนโครงการที่ดำเนินการทั้งหมด 62 โครงการ) ซึ่งมีการทบทวนการใช้ประโยชน์พื้นที่และความหลากหลายทางชีวภาพทุก 5 ปี ทุกโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100
4 โครงการที่ถูกประเมินและเข้าข่ายเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 3 โครงการในประเทศไทย และโครงการที่มีผลกระทบต่อป่าไม้ 3 โครงการ ในสปป.ลาว
5 จำนวนต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่ปี 2551 – 2566 ไม่รวมการปลูกป่าจากบริษัทอื่น ใน บี.กริม กรุ๊ป

ผลการประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ในปี 2566 เรามีโครงการทั้งหมด 62 โครงการ คิดเป็นพื้นที่โครงการรวม 1,023.02 เฮกตาร์ (10.23 ตร.กม) โดยทุกโครงการได้รับการทบทวนการใช้ประโยชน์พื้นที่และความหลากหลายทางชีวภาพภายในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการใช้ประโยชน์พื้นที่และผลกระทบทางชีวภาพ โดยมีโครงการที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 3 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการพลังงานทดแทนในประเทศไทย คิดเป็นพื้นที่รวม 24.27 เฮกตาร์ (0.24 ตร.กม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของพื้นที่โครงการทั้งหมด ขณะที่มีโครงการโรงไฟฟ้าทดแทน 2 โครงการที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ในสปป.ลาว รวมพื้นที่ 3.42 เฮกตาร์ (0.03 ตร.กม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของพื้นที่โครงการทั้งหมด ซึ่งเราได้กำหนดแผนและดำเนินการฟื้นฟูด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan) สำหรับทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยง รวมทั้งปลูกป่าชดเชยเพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เคยอยู่ในพื้นที่ก่อนก่อสร้างสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ด้วย ทั้งนี้ ไม่มีโครงการใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย อาทิ พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่มรดกโลก และพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องภายใต้พื้นที่คุ้มครองตามนิยามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) Category I-IV

ผลการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เสี่ยง

จากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ พบโครงการที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ลาดกระบัง หนองจอก และไทรน้อย ในไทย โดยสืบเนื่องจากแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) เราได้ดำเนินการศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนกในพื้นที่โครงการที่มีความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพและจัดทำรายงานผลการศึกษาในรูปแบบของ Biodiversity and Ornithology Assessment Report โดยผู้เชี่ยวชาญด้านปักษีวิทยา ทั้งในระยะก่อสร้างและกำหนดให้ติดตามผลด้านความหลากหลายของชนิดพันธุ์หลังเปิดดำเนินการ 3 ปี และในระยะดำเนินการทุก ๆ 5 ปี

ผลการศึกษาสำรวจจำนวนชนิดพันธุ์นกในระยะดำเนินการในรอบ 3 ปี

ช่วงก่อสร้าง: สำรวจ ธันวาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562
ช่วงดำเนินการ: สำรวจ ธันวาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565

ในระยะดำเนินโครงการ หลังจากที่โครงการเปิดดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 3 ปี พบว่าสภาพแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้รับการฟื้นฟูจนมีนกเข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมีนกในกลุ่มที่มีสถานภาพประเภทใกล้ถูกคุกคาม (NT) อยู่ด้วย ประกอบกับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่รอบโครงการรัศมี 1 กิโลเมตร ที่เกื้อกูลต่อการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกหลายชนิด ทั้งนกน้ำ นกพุ่ม นกทุ่งหญ้า นกป่า และนกเมืองบางชนิด ส่งผลให้ความหลากหลายของพันธุ์นกในพื้นที่โครงการและบริเวณโดยรอบเพิ่มขึ้น รวมถึงพบนกชนิดใหม่เมื่อเทียบกับการสำรวจในช่วงก่อสร้างอีกด้วย ดังนั้นสามารถประเมินได้ว่าผลกระทบจากการดำเนินโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ต่อการดำรงชีวิตของนกและความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำมาก ทั้งนี้ เรามีกำหนดการประเมินรอบถัดไปในช่วงปลายปี 2567

ในปี 2565 จากผลการสำรวจพบนกที่จัดอยู่ในประเภทใกล้ถูกคุกคาม (NT) ตามบัญชีแดงของ IUCN เพิ่มขึ้นจาก 2 สายพันธุ์ ในปี 2562 เป็น 6 สายพันธุ์ ได้แก่

  • นกกระทุง Spot-billed Pelican (Pelecanus philippensis)
  • นกกระจาบทอง Asian Golden Weaver (Ploceus hypoxanthus)
  • นกกาบบัว Painted Stork (Mycteria leucocephala)
  • นกอ้ายงั่ว Oriental Darter (Anhinga melanogaster)
  • นกช้อนหอยขาว Black-headed Ibis (Threskiornis melanocephalus)
  • นกสติ๊นท์คอแดง Red-necked Stint (Calidris ruficollis)

หมายเหตุ
สถานภาพด้านการอนุรักษ์ ตาม The IUCN Red list of threatened species
CR (Critically endangered) หมายถึง ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในระดับโลก
EN (Endangered) หมายถึง ใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก
VU (Vulnerable) หมายถึง มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก
NT (Near-threatened) หมายถึง ใกล้ถูกคุกคามในระดับโลก
LC (Least concern) หมายถึง เป็นกังวลน้อยที่สุด ยังไม่ถูกคุกคาม และพบเห็นได้ทั่วไป

การดูแลทรัพยากรป่าไม้

บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมป่าไม้ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อริเริ่มดำเนินโครงการปลูกป่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 โดยเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการชดเชยพื้นที่ป่าและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ จากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ที่อยู่ในขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปริมาณป่าไม้ที่ลดลงเรื่อยๆ เรามุ่งมั่นที่จะขยายพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และความสมดุลแก่ธรรมชาติ สร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ เพิ่มพื้นที่ให้สัตว์ต่างๆ ได้ขยายพันธุ์ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ พร้อมต่อยอดเป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนโดยรอบและบุคคลทั่วไป

ณ สิ้นปี 2566 บี.กริม เพาเวอร์ปลูกต้นไม้รวมทั้งสิ้น 93,000 ต้น1 ผ่านกิจกรรมและโครงการปลูกป่า อาทิ

  • โครงการปลูกป่าต้นแบบ เพื่อพัฒนาพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นิคมอุตสาหกรรม Smart Park
  • โครงการร่วมใจพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านฉาง
  • กิจกรรมปลูกป่าและสร้างฝายหินเรียงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
  • กิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ร.10
  • กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างจิตอาสา อนุรักษ์ป่า และสิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรมปล่อยปูปลา ปลูกป่าชายเลน ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
  • โครงการปลูกป่าเพื่อลด สู่อนาคตที่ยั่งยืน Let’s Zero Together ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
  • โครงการปลูกป่าและโครงการฟื้นฟูพันธ์ไม้ในพื้นที่โครงการต่างๆ เช่น เขื่อนไฟฟ้าน้ำตกน้ำแจ 1 (NC1HP) ร่วมกับแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงชัยสมบูรณ์ สปป.ลาว
  • โครงการฟื้นฟูพันธ์ไม้ในพื้นที่โครงการเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก เซน้ำน้อยและเซกะตำ

1 จำนวนไม้ที่ปลูกตั้งแต่ปี 2551 – 2566 ไม่รวมการปลูกป่าจาก บริษัทอื่น ในกลุ่ม บี.กริม กรุ๊ป