โอกาสและความท้าทาย

บี.กริม เพาเวอร์ ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติและเคารพต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน บนหลักการของ "ความโอบอ้อมอารี" ผ่านช่องทางการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อทราบความคาดหวังและสามารถพิจารณาแนวทางการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน ตลอดจนนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียไปพัฒนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กร สร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการและกลยุทธ์

บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งมั่นในการพัฒนาแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย ที่ดีโดยอ้างอิงจากมาตรฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) 2015 เพื่อให้สามารถเข้าใจและประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มและส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมและสมดุล ตอบสนองด้วยแนวทางที่เหมาะสมภายใต้พื้นฐานสำคัญดังนี้

ความครอบคลุม

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

ประเด็นความสำคัญ

การพิจารณาประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของ บี.กริม เพาเวอร์ และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การตอบสนอง

การบริหารจัดการที่เป็นระบบ และการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้วยความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

ขั้นตอนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย

  1. การระบุผู้มีส่วนได้เสีย
  2. การระบุระดับผลกระทบของ บี.กริม เพาเวอร์ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  3. การระบุระดับอิทธิพลต่อการประเมินและผลกระทบต่อการดำเนินงานของ บี.กริม เพาเวอร์
  4. การจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียใน 2 มิติ คือ ระดับผลกระทบของ บี.กริม เพาเวอร์ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย และระดับอิทธิพลและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียต่อบริษัท
  5. การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียและการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสารที่เหมาะสมและเพียงพอกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถาม และออกเสียงลงคะแนน
  • การจัดประชุมนักวิเคราะห์รายไตรมาส
  • กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) รายไตรมาส
  • การพาผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการ
  • กิจกรรม Roadshow พบนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • การสื่อสารผลการดำเนินงานผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รายงานประจำปี แบบ 56-1 รายงานคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ และเว็บไซต์ของ บี.กริม เพาเวอร์
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การจ่ายเงินปันผลและมูลค่าหุ้นที่คุ้มค่าและการดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  • การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและความสำเร็จในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ
  • ผลการดำเนินงานที่ดีและการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาส
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
  • การเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์
การตอบสนอง
  • กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ รวมถึงวางแผน และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แสวงหาช่องทางและโอกาสเพื่อขยายและพัฒนาการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • สร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัท
  • ดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบข้อซักถาม และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถแสดงความคิดเห็น

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การจัดประชุม อบรม และสัมมนากับพันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้า
  • การเยี่ยมชมกิจการการดำเนินงานของบริษัทตามโอกาส
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การสนับสนุนศักยภาพและพัฒนาโครงการความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อต่อยอดเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจร่วมกัน
  • การดูแลสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของในการทำงานของพันธมิตรและคู่ค้า
  • ความสามารถในการส่งมอบ การปฏิบัติตามสัญญา / ข้อตกลงและเงื่อนไขการชำระเงินทางธุรกิจ / เงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ เกิดความเท่าเทียมในการเปิดโอกาสให้คู่ค้าที่มีคุณภาพได้ร่วมงานกับบริษัท
การตอบสนอง
  • จัดทำนโยบาย “จรรยาบรรณและแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า” เชื่อมโยงกับกระบวนการจัดซื้อ ครอบคลุมประเด็นจริยธรรมทางธุรกิจ การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานร่วมกัน
  • คัดเลือกและประเมินผลการปฏิบัติงานของคู่ค้าและผู้รับเหมาอย่างเหมาะสม
  • ประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และความพึงพอใจในการส่งมอบงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการคัดเลือกคู่ค้าของกลุ่มบริษัท
  • จัดกิจกรรมการอบรมให้กับคู่ค้าที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ค้านำไปปฏิบัติ เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าและเพิ่มความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมร่วมกับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
  • การประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นร่วมกับศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
  • การเข้าร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ กลุ่ม กฟผ. (EGAT Group)
  • การจัดให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าพบปะเยี่ยมเยียนลูกค้ารายหลัก
  • การสำรวจความพึงพอใจลูกค้า เพื่อการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การผลิตและส่งมอบกระแสไฟฟ้าที่มี เสถียรภาพ มั่นคง ปลอดภัย และจ่ายได้ตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายและมีราคาที่เหมาะสม
  • การปฏิบัติตามข้อตกลงและสัญญาอย่างเป็นธรรม มีคุณธรรมและจริยธรรมต่อลูกค้า
  • การผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนและสังคม
  • การรักษาข้อมูลความลับของลูกค้า
  • ความรวดเร็วในการให้บริการและการให้ความช่วยเหลือ
การตอบสนอง
  • ปรับปรุงและซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนลูกค้าที่ต้องการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การให้บริการติดตั้งแผงโซลาร์โดยหน่วยงานพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา
  • ให้ข้อมูลเรื่องใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) แก่ลูกค้าเพื่อช่วยวางแผนลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการใช้ไฟฟ้า
  • เตรียมความพร้อมในการผลิตและจ่ายไฟฟ้า การสร้างและพัฒนาระบบไฟฟ้าที่มั่นคงและมีเสถียรภาพเพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด
  • วิเคราะห์ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้า เพื่อปรับปรุงการให้บริการ
  • เก็บรักษาข้อมูลความลับของลูกค้า และปฏิบัติตามจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจอย่างเคร่งครัด
  • ให้บริการช่วยเหลือและการซ่อมบำรุงตลอด 24 ชั่วโมง

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • การประชุมพบปะเยี่ยมเยียนตามวาระโอกาสต่างๆ และให้ข้อมูลความคืบหน้าโครงการ แก่สถาบันการเงินและเจ้าหนี้
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ครบถ้วน ถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์
การตอบสนอง
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทางการเงิน ตลอดจนเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมและหุ้นกู้อย่างเคร่งครัด
  • เปิดเผยข้อมูลสถานะทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ผ่านข้อมูลทางการเงินรายไตรมาสและรายปี การแจ้งข่าวผ่านช่องทางตลาดหลักทรัพย์ และรายงานประจำปี แบบ 56-1
  • รายงานให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าหากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ หรือจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนรักษาความสัมพันธ์อันดี
  • การเยี่ยมชมกิจการการดำเนินงานของบริษัทตามโอกาส
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • การให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการเสียภาษี/ค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในนโยบายภาครัฐส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (SPP) ในเรื่องของการผลิตไฟฟ้า
  • การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
  • การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ถูกต้อง และทันเวลา
การตอบสนอง
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อการปฏิบัติที่สอดคล้องและถูกต้องครบถ้วน
  • เปิดเผยข้อมูล สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและทันเวลา

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะจัดการบริษัทเยี่ยมพนักงานประจำปี
  • กิจกรรมผู้บริหารพบพนักงาน (town hall) ประจำปี เพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสารรายไตรมาส รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองในการบริหารและดำเนินธุรกิจหรือเมื่อมีเรื่องที่สำคัญ
  • การสำรวจความผูกพันองค์กรของพนักงานทุกๆ สองปี โดยบริษัทที่ปรึกษาภายนอก พร้อมจัด Focus group กับพนักงานและผู้บริหารเพื่อเข้าใจมุมมองในเชิงลึกต่อประเด็นด้านความผูกพันองค์กรเพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข
  • การจัดกิจกรรม CG Day เพื่อเสริมสร้างให้พนักงานปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณธุรกิจและจริยธรรมธุรกิจ การต่อต้านการทุจริตทั้งในและนอกองค์กร การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
  • การจัดกิจกรรม Sustainability day เพื่อเสริมสร้างความรู้และความตระหนักด้านความยั่งยืนให้กับพนักงาน รวมถึงสื่อสารแนวทางและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของเราให้กับพนักงานรับทราบ
  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้พนักงาน 100% ได้เสนอแนะแนวทางการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและความสุข
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของพนักงานเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  • การแจ้งข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เช่น นโยบาย ประกาศ/คำสั่งภายใน การสื่อสารธุรกิจ การเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ รวมถึงการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยทั้งตนเองและครอบครัว ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น อีเมล และ Portal Site ภายใน
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข เข้าใจวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
  • การได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม เทียบเคียงกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน และเป็นไปตามความสามารถในการแข่งขันของบริษัท
  • การพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงเท่าเทียมกัน
  • โอกาสความก้าวหน้า และความมั่นคงในอาชีพการงาน
  • การดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม
การตอบสนอง
  • จัดทำการอธิบายลักษณะงานตามโครงสร้างองค์กรเพื่อให้ทุกคนรับทราบ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของการทำงานทั้งตนเอง ผู้เกี่ยวข้องโดยรอบตลอดกระบวนการปฏิบัติงาน รวมถึงการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดการทำงาน เพื่อวัดผลประสิทธิภาพประจำปี
  • มีนโยบายในการพิจารณาค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เป็นธรรม ตลอดจนการประกันสุขภาพและชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานทุกระดับ
  • จัดทำแผนงานการอบรม และพัฒนาศักยภาพของพนักงานรายบุคคล (Individual Development Plan) เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ตลอดจนการบริหารความก้าวหน้าของพนักงานที่มีศักยภาพสูงผ่านการประเมิน 360 องศาเพื่อพัฒนาผู้นำในอนาคตและผู้สืบทอดตำแหน่งสำคัญ
  • จัดสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม
  • รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพนักงานเพื่อการปรับปรุง และพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  • จัดช่องทางการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดและการร้องทุกข์ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน โปร่งใส การให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้ถูกร้องเรียน และการกำกับติดตามกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • จัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย (Public Participation) และจัดทำการสำรวจสภาพเศรษฐกิจสังคม ความพึงพอใจ และความคิดเห็นชุมชน (Social Survey) ประจำปี
  • การประชุมการประชุมทวิภาคี (บริษัทและชุมชน) และไตรภาคี (บริษัท ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ) เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชนและสังคม
  • การสื่อสารและพบปะกับชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ประจำปี
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ และไม่สร้างผลกระทบให้แก่สิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม
  • การเปิดโอกาส การมีส่วนร่วม และการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนและสังคม
  • การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางธุรกิจ
  • การสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
การตอบสนอง
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคมอย่างเคร่งครัด
  • จัดทำรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • จัดประชุมทวิภาคี (บริษัทและชุมชน) และไตรภาคี (บริษัท ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ) เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชนและสังคม
  • สื่อสารและพบปะกับชุมชนและสังคม ตลอดจน ประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว สนับสนุนและร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้ชุมชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัท
  • สนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พัฒนาสภาพแวดล้อม และให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
  • มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในวงกว้าง

ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การแถลงข่าว / ข่าวประชาสัมพันธ์ผลประกอบการรายไตรมาสและรายปี รวมถึงประเด็นข่าวต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจ
  • การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงข้อมูลความคืบหน้าของการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ
  • การพบปะเยี่ยมเยียนสื่อมวลชนในโอกาสต่าง ๆ เช่น กิจกรรมครบรอบสื่อมวลชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และการพัฒนาการทำงานร่วมกับสื่อสารมวลชนให้ดียิ่งขึ้น
  • การติดต่อประสานงานกับทีมสื่อสารองค์กรโดยตรงผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือโทรศัพท์
ความต้องการและความคาดหวัง
  • การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ครบถ้วน ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
  • ช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงง่าย สะดวก และรวดเร็ว
  • รักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและสื่อมวลชน
การตอบสนอง
  • มีหน่วยงานสื่อสารองค์กรเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ แก่สื่อมวลชน ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันต่อเหตุการณ์
  • การเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • การจัดประชุมและพบปะเยี่ยมเยียนสื่อมวลชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น และการพัฒนาการทำงานร่วมกับสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่อง

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ