การกำกับดูแลด้านความยั่งยืน

บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งมั่นสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดยคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการวางรากฐานการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนที่แข็งแรง มีการถ่วงดุลอย่างเหมาะสมและสามารถตรวจสอบได้ จะส่งผลให้บริษัทสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน มีหน้าที่และความรับผิดชอบครอบคลุมถึงด้านความยั่งยืน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และธรรมาภิบาล คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืนมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ กลั่นกรองและทบทวนนโยบาย กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน เป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร ตลอดจนติดตามผล และกำกับดูแลด้านการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนให้เป็นไปตามหลักการและมาตรฐานสากล โดยรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

ในด้านการบริหารจัดการ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และเป้าหมายด้านความยั่งยืน ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายองค์กร นอกจากนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ได้จัดตั้งฝ่ายบริหารความยั่งยืน ซึ่งรายงานตรงต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส – การลงทุน นวัตกรรม และความยั่งยืนสายงานการลงทุน นวัตกรรมและความยั่งยืน มีหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะนำแนวทางกลยุทธ์และแผนงานด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร พร้อมปลูกฝังความยั่งยืนในกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานผ่านการประสานงานอย่างใกล้ชิด ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจ ติดตามผลการดำเนินงาน โดยมีการรายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าสามครั้งต่อปี

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

บี.กริม เพาเวอร์ วางแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี โดยประกอบด้วย ยุทธศาสตร์หลักเพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน และองค์ประกอบขั้นพื้นฐานเพื่อวางรากฐานความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสู่การเติบโตในระยะยาว พร้อมส่งมอบคุณค่าเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาติ 2565 โดยมี

แผนกลยุทธ์ความยั่งยืน ปี 2566 ถึง ปี 2573
ยุทธ์ศาสตร์หลักเพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน

มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนจากพลังงานสะอาด พร้อมส่งมอบคุณค่าแก่สังคม ขณะที่คงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งยุทธศาสตร์หลักนี้ มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท และครอบคลุมประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อทั้งบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เป้าหมาย รวมถึงกำหนดการติดตามและวัดผล เพื่อให้เราสามารถส่งมอบคุณค่าได้อย่างมีนัยสำคัญและเป็นรูปธรรม

สร้างรากฐานสู่ความยั่งยืน

การเติบโตอย่างยั่งยืนสร้างขึ้นจากรากฐานที่แข็งแกร่ง เราจึงให้ความสำคัญกับองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมภิบาล โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

กลยุทธ์ความยั่งยืนปี 2566 ถึง ปี 2573

เป้าหมายปี 2566 - 2573
การเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนจากพลังงานสะอาด
มุ่งขยายสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแนวทางแนวทางการรักษาอุณหภูมิโลก ให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส (2.0°C pathway) ภายในปี 2573
ขยายโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ของกำลังการผลิต ภายในปี 2573
บรรลุอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิขอบเขตที่ 1 และ 2 ที่ต่ำกว่า 0.28 tCO2e/MWh ภายในปี 2573
ส่งเสริมนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
รักษาค่าประสิทธิภาพการผลิตพลังงานที่เหนือกว่า 50% ต่อปี
รักษาอัตราส่วนร้อยละของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงต่อปี จากพลังงานลมที่ 27% และจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 15% ภายใน 2573
บรรลุสัดส่วนลูกค้าที่พึงพอใจมากกว่า 95% ต่อปี
ส่งมอบคุณค่าแก่สังคม
ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพด้านการกีฬา สาธารณสุข และศิลปะของไทยให้มุ่งสู่มาตรฐานระดับโลก
ส่งเสริมความรู้ ความสามารถด้าน STEM ให้แก่นักเรียน 400,000 คน ภายในปี 2573
พนักงานทุกคนต้องมีทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการเติบโตของธุรกิจ ภายในปี 2573
ส่งเสริมอัตราความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่ 85% ภายในปี 2573
อัตราการเสียชีวิตและอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานเท่ากับศูนย์
คงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
เพิ่มสัดส่วนของขยะรีไซเคิลเป็น 88% ภายในปี 2573
บริหารจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายในปี 2583
ตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนด ในทุกโรงไฟฟ้า
ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบาย ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนด ในทุกโรงไฟฟ้า
มุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ

ผลการดำเนินงานตามแนวทางกลยุทธ์ความยั่งยืนที่สำคัญ

  ผลการดำเนินงาน ปี 2565 ผลการดำเนินงาน ปี 2566 เป้าหมาย ปี 2573
การเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนจากพลังงานสะอาด
กำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (ต่อกำลังการผลิตทั้งหมด) 25% 27% >50%
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิขอบเขตที่ 1 และ 2 (tCO2e/MWh) 0.38 0.37 <0.28
พลังงานความร้อนร่วม - ค่าประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน 50.5% 52.1% >50%
พลังงานแสงอาทิตย์ – ร้อยละของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงต่อปี 15.7% 15.6% >27%
พลังงานลม - ร้อยละของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงต่อปี 28.3% 31.2% >15%
สัดส่วนความพึงพอใจของลูกค้า 95.7% 97.7% >95%
ส่งมอบคุณค่าแก่สังคม      
นักเรียนที่ได้รับความรู้ ความสามารถด้าน STEM (คน)1,2 160,850 178,623 400,000
พนักงานที่ได้รับการอบรมทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการเติบโตของธุรกิจ (ต่อพนักงานทั้งหมด) 30% 40% 100%
อัตราความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 78% 78% 85%
อัตราการเสียชีวิตของพนักงานและผู้รับเหมา 0, 0 0, 0 0, 0
อัตราการเสียชีวิตของพนักงานและผู้รับเหมา อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานของพนักงานและผู้รับเหมา (ครั้งต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน) 0, 0 0, 1.25 0, 0
คงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ      
ขยะรีไซเคิล (ต่อปริมาณขยะทั้งหมด) 84.8% 84.3%3 88%
โครงการที่ได้รับการประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพทุก 5 ปี4 (ต่อโครงการทั้งหมด) 100% 100% 100%
โครงการที่มีการดำเนินการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีที่ประเมินแล้วพบว่ามีผลกระทบ (ต่อโครงการที่อาจมีผลกระทบ) 100% 100% 100%

หมายเหตุ:

ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2553

Science, Technology, Engineering, and Mathematics (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์)

ไม่รวมของเสียจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (non-recurring item) จากการรื้อถอนโรงไฟฟ้า ABP1 เฉพาะส่วนที่ดำเนินการเอง ไม่ผ่านผู้รับเหมา ทั้งนี้หากรวมรายการดังกล่าวสัดส่วนของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่/ รีไซเคิลอยู่ที่ร้อยละ 75 ในปี 2566

โดยมีการทบทวนการใช้ประโยชน์พื้นที่และประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ