การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

บี.กริม เพาเวอร์ จัดประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอและทบทวนเป็นรายปี สอดคล้องกับมาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiatives Standards) ซึ่งเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล ตามหลักการ GRI 3: Material Topics (2021) โดยคำนึงถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมด้านการกำกับดูแล เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คนและสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชน ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ เรายังนำหลักการ Double Materiality มาพิจารณาเพื่อระบุผลกระทบจากองค์กรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (outward impact) และผลกระทบต่อมูลค่าของบริษัททั้งในเชิงการเงินและนอกเหนือจากการเงิน (inward impact) โดยพิจารณาจากความคิดเห็นและมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการประเมินประเด็นสำคัญได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท รวมถึงได้รับการสอบทานจากผู้ตรวจสอบภายนอกองค์กร

ทั้งนี้ ผลการประเมินประเด็นสำคัญ นับเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางกลยุทธ์ การตั้งเป้าหมาย การติดตามผล ตลอดจนการรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กร รวมถึงจัดสรรทรัพยากรและบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรให้สอดคล้องและครอบคลุมตามประเด็นสำคัญ

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนที่ 6
บี.กริม เพาเวอร์ การระบุผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร การกลั่นกรองสู่ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร การระบุผลกระทบของประเด็นสำคัญ การประเมินระดับความสำคัญของผลกระทบ การจัดลำดับประเด็นสำคัญ การทบทวนและทวนสอบประเด็นสำคัญ
รวบรวมรายการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมภิบาล (ESG) อย่างรอบด้าน และระบุผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อ กลั่นกรองประเด็น ESG ที่มีผลกระทบต่ำหรือไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจออก ให้เป็นประเด็นสำคัญของธุรกิจ ระบุผลกระทบของแต่ละประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ทั้งเชิงบวกและลบ รวมถึงนำหลักการ Double Materiality มาพิจารณาทั้งเรื่องผลกระทบต่อธุรกิจเรา และจากเราสู่ภายนอก ประเมินระดับความสำคัญของผลกระทบ ผ่านความเห็นและมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ตามระดับความรุนแรงและโอกาสในการเกิดของผลกระทบในแต่ละประเด็น จัดทำตารางระดับความสำคัญ (Materiality Matrix) ตามระดับผลกระทบต่อองค์กร และระดับผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากองค์กร ทบทวนและให้ความเห็นชอบโดยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน และอนุมัติคณะกรรมการบริษัท
แนวทาง GRI Standards การทำความเข้าใจบริบทขององค์กร การระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและ/หรือเกิดขึ้นจริงขององค์กร การประเมินความสำคัญของผลกระทบ การจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบเพื่อการรายงาน

ตารางระดับความสำคัญปี 2566

การพัฒนาชุมชนและสังคม

ความพึงพอใจของลูกค้า

ประสิทธิภาพ ความพร้อม และเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้า

การมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การเติบโตของธุรกิจ

การรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ และสวัสดิการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการ

ความโปร่งใสและการต่อต้านการทุจริต

นวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

ความปลอดภัยด้านไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน

การบริหารจัดการน้ำและอากาศ

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน

การบริหารจัดการของเสียและหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระบวนการจัดทำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน การประเมินผลกระทบจากองค์กรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (outward impact) และผลกระทบต่อมูลค่าของบริษัท ทั้งในเชิงการเงินและนอกเหนือจากการเงินที่ส่งผลหรืออาจจะส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทในอนาคต (inward impact)  แนวทางการบริหารจัดการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกิจกรรมขององค์กรที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงประเด็นสำคัญในปี 2566 ได้ที่ Materiality Analysis 2023

รวมถึงตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบประเด็นสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรเชิงลึกที่ BGRIM Impact Assessment for External Stakeholders

เอกสารที่เกี่ยวข้อง