โครงการภายใต้เป้าหมายการส่งเสริมการศึกษา/ทักษะด้าน STEM ในทุกระดับเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

บี.กริม เพาเวอร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา/ทักษะด้าน STEM ในทุกระดับชั้น แต่เนื้อหาและความเข้มข้นของการฝึกอบรมย่อมแตกต่างกันในแต่ระดับ ดังนั้นเราจึงแบ่งโครงการเพื่อพัฒนาทักษะด้าน STEM เป็น 2 ระดับ เพื่อให้ผลลัพธ์และจุดประสงค์ของโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมมากที่สุด ได้แก่ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยนักเรียนในช่วงปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และนักเรียนในสายงานอาชีพเทียบเท่ากับช่วงอายุก่อนอุดมศึกษา ระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยนักศึกษาวิทยาลัย และระดับวิทยาลัยอาชีวะ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้แก่นักเรียน 400,000 คน ภายในปี 2573 ผ่านหลากหลายโครงการ โดยมีโครงการที่โดดเด่นคือ

โครงการบ้านนักวิทยาศาตร์น้อย ประเทศไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้ริเริ่มโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในประเทศไทย โดยได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมมาทดลองทำโครงการนำร่องในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน 8 ภาคเครือข่าย โดย บี.กริม เพาเวอร์ เป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายตั้งแต่เริ่มโครงการฯ และขยายผลอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กตั้งแต่ปฐมวัยอายุระหว่าง 3-6 ขวบ และมุ่งขยายแนวคิดสู่ระดับประถมศึกษาด้วยเช่นกัน ตลอดจนการจัดกิจก รรมอบรมครูผู้สอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และการทำกิจกรรมสู่กลุ่มครอบครัว

นับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2566 บี.กริม เพาเวอร์ สนับสนุนโรงเรียนในเครือข่ายท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมี 133 แห่ง ที่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของบี.กริม เพาเวอร์ โดยเรามีจุดมุ่งหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสนับสนุนให้ครูสามารถสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ได้ตรงตามจุดมุ่งหมายของโครงการ และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนต่างๆ โดยจัดสรรให้พนักงานของเราทำหน้าที่ “นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง” ร่วมสอนและทำกิจกรรมกับครูโรงเรียนเครือข่าย บี.กริม อีกด้วย นอกจากนี้ โครงการยังได้ขยายขอบเขตสู่การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD) โดยเชื่อมโยงและประยุกต์มิติการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มาปรับให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา โดยมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนจากแนวคิดที่ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Human Center) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กคำนึงว่าโลกเป็นศูนย์กลาง (Earth Center) ของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก (Realize) ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก นำไปสู่การลงมือ (Act) ตลอดจนร่วมจัดการกับปัญหาและเสริมศักยภาพ (Empowerment) ให้แก่ผู้เรียนจัดการกับปัญหา แม้ผู้เรียนจะเกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหามลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมแนวทางการเรียนรู้แบบเน้นที่การลงมือ (Action) ในการจัดการกับปัญหาในชีวิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ในปี 2566 มีโรงเรียนภายใต้การดูแลของบี.กริม เพาเวอร์ กว่า 63 โรงเรียน ที่ผ่านการประเมินและได้รับมอบตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ประจำปี 2566” ที่แสดงถึงผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และข้อกำหนดของโครงการได้เป็นอย่างดี

ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • สอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษา/ทักษะด้าน STEM1 ในทุกระดับเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
  • เพิ่มมูลค่าทางการประชาสัมพันธ์ (Media value) ของบริษัทฯ
ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • ยกระดับการศึกษาและวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา (นับตั้งแต่เปิดโครงการมีโรงเรียนและนักเรียน ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ กว่า 170,863 คน)
  • พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา (ในปี 2566 มีคุณครูที่เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ กว่า 324 คน)
  • สนับสนุนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ในเป้าหมายย่อยที่ 4.2 4.7 และ 8.6
1 STEM คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)

โครงการ B.Grimm BIP School Camp

โครงการ B.Grimm BIP School Camp ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 เป็นโครงการที่เน้นการจัดค่ายระยะสั้น ให้แก่นักเรียนในเขตพื้นที่โรงไฟฟ้าบี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 1 และ 2 โดยมีการนำใช้แนวคิด STEM Education และแนวคิดตามแบบโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดกิจกรรม เนื่องจากเป็นแนวคิดที่บูรณาการทักษะที่หลากหลายมาใช้ในการทำกิจกรรม อาทิ สอนให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง การฝึกทำงานกันเป็นทีมและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น โดยกิจกรรมจะเน้นการสอนในเรื่องของพลังงานต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจของเรา และยังสอดแทรกความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และศิลปะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความสนุกสนาน ผ่านแนวคิด STEM Education ให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วม และสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างโรงไฟฟ้า และโรงเรียนในพื้นที่โรงไฟฟ้า

ในปี 2566 เราได้จัดโครงการฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในหัวข้อพลังงานแสงอาทิตย์ เน้นที่การส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์โดยพนักงานผู้มีความเชี่ยวชาญของบี.กริม และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำการทดลองและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่การตั้งข้อสงสัย/คำถาม การจดบันทึกและเฝ้าดูผล รวมไปถึงการนำเสนอผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรม/การทดลองด้วยตนเอง

ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • สอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษา/ทักษะด้าน STEM1 ในทุกระดับเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
  • เป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของบริษัท ส่งเสริมให้เด็กรุ่นใหม่ในพื้นที่รู้จักและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กร
ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • ยกระดับการศึกษาและวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ด้าน STEM ภาษาอังกฤษ และศิลปะให้กับเด็กประถมศึกษา
    (นับตั้งแต่เปิดโครงการมีนักเรียนได้รับประโยชน์จากโครงการฯ 593 คน)
  • สนับสนุนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    (Sustainable Development Goals –SDGs) ในเป้าหมายย่อยที่ 4.2 4.7 และ 8.6
1 STEM คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)

ระดับอุดมศึกษา

เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประสบการณ์การทำงานจริงด้าน STEM สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะรับนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ทำงานจริงในด้าน STEM กว่า 300 คน ภายในปี 2573 ผ่านหลากหลายโครงการ ได้แก่ โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับประเทศและต่างประเทศ เช่น Harbour.Space University จากประเทศสเปน และโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี มีรายละเอียดดังนี้

โครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี

กว่า 13 ปี ที่บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมมือกับโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จังหวัดระยอง และสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ในโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมระบบไฟฟ้า (V-EsEPC) ในระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี (Dual Vocational Education System) ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเยอรมนี และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะทำการคัดเลือกนักศึกษาสายอาชีพจากวิทยาลัยอาชีวะ เพื่อนำมาอบรมควบคู่ไปกับการทำงาน (On-the-Job Training) ในขณะที่นักศึกษายังคงศึกษาอยู่ในวิทยาลัยของตนเอง ซึ่งมุ่งหวังที่จะพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและการซ่อมบำรุงรวมถึงเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนและสามารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความชำนาญในสายอาชีพต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนการเติบโตของประเทศ รวมถึงธุรกิจของบี.กริม ตลอดจนการลดต้นทุนการสรรหาบุคลากรที่ลดลงอีกด้วย

โดยมีนักศึกษาทวิภาคีจำนวน 140 คน ที่ได้เข้าร่วมอบรมโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ถึง 2566

ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • สอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษา/ทักษะด้าน STEM1 ในทุกระดับเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
  • เพิ่มจำนวนกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพและทักษะที่สอดคล้องกับบี.กริม เพาเวอร์
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหา/จัดจ้างพนักงานใหม่
ตัวชี้วัดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มจำนวนนักเรียน/เยาวชนที่ได้รับการอบรมในระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี (นักศึกษาทวิภาคีที่เข้าร่วมโครงการนับตั้งแต่เปิดโครงการรวม 140 คน)
  • เพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาที่สำเร็จโครงการฯ เข้าร่วมทำงานกับบี.กริม เพาเวอร์
  • สนับสนุนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ในเป้าหมายย่อยที่ 4.3 4.4 และ 8.6
1 STEM คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)