BGRIM เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้า ดันปี68แตะ 7.2 พันเมกะวัตต์

ธุรกิจไฟฟ้าที่มีอายุยาวนาน 143 ปี บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ซึ่งมีผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร “ฮาราลด์ ลิงค์ “ คุมบังเหียนธุรกิจ มูลค่าแสนล้านบาท ได้เข้าสู่การเปลี่ยนลงโครงการการบริหารและธุรกิจรอบใหญ่

“ฮาราลด์ ลิงค์" ให้สัมภาษณ์พิเศษ “หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ” ได้ฉายภาพธุรกิจจากนี้ไปการเปลี่ยนแปลง โดยจะมาจากพอร์ตการลงทุนในและต่างประเทศ ทั้งการนำเข้าเชื้อก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ปริมาณ 2.5 แสนตัน แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะยังรอการอนุมัติ แต่บริษัทพร้อมดำเนินการเพื่อเปลี่ยนจากผู้ซื้อมาขายไปจะเป็นผู้นำเข้าเอง ถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของบริษัท เพราะมีลูกค้าที่สนใจซื้อไฟฟ้าจากบริษัท แต่ทำไม่ได้ เพราะติดที่ราคาไม่เอื้ออำนวยให้ขนานไปยังอุตสาหกรรมนี้ได้

รวมทั้งจุดที่ได้เปรียบของบริษัทที่ร่วมกับศูนย์การค้า อาคารขนาดใหญ่ ในการให้บริการ ทั้งระบบไฟฟ้า ไอน้ำ ถ้าสามารถนำเข้าก๊าซฯเข้ามาได้เองยิ่งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีพันธมิตรรายใหญ่ในตลาดอย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT สามารถร่วมธุรกิจด้วยกันได้ ซึ่งได้มีการพูดคุยและน่าจะได้เห็นข้อสรุปเร็วๆนี้

ฐานลูกค้าของ BGRIM มีลูกค้าด้านสายส่งมากที่สุดในประเทศ 300 ราย ทำให้มีเครือข่ายสายส่งกว้าง แต่ยังสร้างรายได้ไม่ได้เพราะต้องอิงกับการสร้างกับโรงไฟฟ้าไม่เหมือนกับต่างประเทศที่คิดเป็นอีกรายได้ เพราะธุรกิจสายส่งนำโรงไฟฟ้าตาม ดังนั้นจึงทำให้อนาคตสามารถสร้างเป็นอีกหนึ่งธุรกิจครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

สำหรับในไทยกลับด้านกันโรงไฟฟ้านำสายส่งตาม(รายได้มาจากโรงไฟฟ้ามากกว่าสายส่ง) เมื่อบริษัทมีความสามารถทำตรงนี้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐให้บริษัทลงทุนก็พร้อมจะดำเนินทันที เรื่องสาย ลงลงทุนไม่มาก แต่ขยายได้เร็วทั้งในและต่างประเทศ มีอยู่แล้วใน 7 นิคมอุตสาหกรรม

ปัจจุบันโครงการที่ BGRIM ดำเนินการอยู่แล้ว 48 โครงการ กำลังผลิตติดตั้ง 3,058 เมกะวัตต์ รวมโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาและก่อสร้างเป็น 59 โครงการ กำลังผลิต 3,682 เมกะวัตต์ ส่วนโครงการที่เข้าลงทุนและร่วมลงทุนในหลายประเทศ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว ไทย และล่าสุดเมียนมา ที่น่าจะมีโอกาส อินโดนีเซีย กลุ่มโคเอเชีย และสหรัฐ

สำหรับ โครงการที่อยู่ระหว่างการลงทุน คือ ควบรวมและซื้อกิจการ(M&A )โครงการโรงไฟฟ้าไทยและต่างประเทศ 500-600เมกะวัตต์ ,โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศเกาหลีใต้ และเวียดนาม 200-300 เมกะวัตต์, ,LNG to power เวียดนาม 2,500-3,000 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ฯลฯ

บริษัทได้มีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจระยะ3-5 ปี ข้างหน้า โดยเพิ่มเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2568 เป็น 7,200 เมกะวัตต์ จากตั้งไว้ที่ 3,682 เมกะวัตต์ ด้วยการขยายฐานลูกค้าตามสัญญา PPA ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ ด้วยการให้บริการสาธารณูปโภคครบวงจร

ส่วนของไฟฟ้ามาจากก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และไฮบริด (ก๊าซ พลังงานทดแทน และระบบกักเก็บพลังงาน) การเติบโตธุรกิจโรงไฟฟ้าในอนาคตจะมาจากพอร์ตต่างประเทศเป็นหลัก แม้ในไทยจะยังมีความต้องการไฟฟ้า แต่ต่างประเทศมากกว่าเช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มีความต้องการสูงมาก ซึ่งมาจากเศรษฐกิจภาพรวมของแต่ละประเทศที่เติบโตมากกว่าไทย

สำหรับที่ประเทศเวียดนาม แต่ละอุตสาหกรรมต้องสร้างโรงไฟฟ้าของตัวเอง เพราะไม่พอใช้ ทางการเวียดนามจึงต้องการสร้างแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 ขึ้นมารองรับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปแล้วปรับ ทำให้ต้องทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8

อย่างไรก็ตามเมื่อกลับมาดูโครงการของบริษัท มีส่วนแผนนี้มากน้อยแค่ไหน ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการได้ ซึ่ง BGRIM มีทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและนำเข้า LNG จะมาพร้อมกับโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่มีในเวียดนาม

“เวียดนามมีโอกาสสูงในโครงการลม เพราะบริษัทมีอยู่แล้วหลายโครงการ หรือ โครงการ LNG to power มีอยู่หลายพันเมกะวัตต์ที่ลงทุนเองและร่วมทุน เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 และมีโครงการบริษัทอยู่ในนั้น เชื่อว่ามีโอกาสสูงมากที่ BGRIM มีโอกาสจะได้ลงทุนโรงไฟฟ้าที่เวียดนามต่อเนื่อง” ​

นโยบายบริหารธุรกิจอยู่บน Partnership ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งคีย์แมนสำคัญออกไป เพราะในมุมมองตนตำแหน่งเดียวที่เซ็นอนุมัติทุกเรื่อง การบริหารงานต้องขึ้นกับตำแหน่งนี้หมดมองว่าเป็นวิธีการที่ไม่ปลอดภัยสำหรับบริษัท เพราะมองว่าหากมีมุมมองที่ผิดจะทำทั้งองค์กรเสียหายได้

การปรับตำแหน่งผู้บริหารที่ผ่านมาต้องการให้ถูกต้องเพราะบริษัทไม่ได้มีตำแหน่ง CEO ตั้งแต่แรกแต่คนข้างนอกกลับเรียกตำแหน่งนี้กันเอง มีการเรียกว่าผู้นำทัพ แม่ทัพ ซึ่งไม่สอดคล้องกับองค์กร ที่ต้องการเป็นพันธมิตรกับทุกฝ่าย ไม่ได้ต้องการทำสงครามกับใคร เมื่อไม่ได้อยู่ในสงครามก็ไม่จำเป็นต้องมีแม่ทัพ แต่ต้องการสร้างประโยชน์ให้สังคมและพันธมิตรมากที่สุด แล้วกำไรมันจะตามมาเอง

“คู่แข่งไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ มองว่าจะสร้างประโยชน์อย่างไรให้กับพันธมิตรและลูกค้ามากกว่า แล้วธุรกิจที่เกิดขึ้น ก็จะได้ประโยชน์ด้วยกัน กลับกันไปมองว่านั้นคือคู่แข่งที่ต้องสู้กันเป็นการหลงตัวเอง เพราะผมยึดมั่นว่าธุรกิจไม่ใช่ต้องหากำไรให้ได้มากที่สุดแต่ต้องหาประโยชน์มากที่สุดให้ลูกค้า สังคม ผลที่ออกมาเห็นว่าธุรกิจนั้นมีกำไร

ดังนั้นที่ผ่านมาจะใช่คำว่าเปลี่ยนแม่ทัพไม่ได้เพราะไม่เคยมีตำแหน่งนี้ แต่เป็นการเปลี่ยนผู้นำ ด้วยอายุ ด้วยความสมัครใจของเจ้าตัว ส่วนของผมที่ยังดำเนินไฟฟ้าต่อ เพราะ BGRIM กำลังมีการเปลี่ยนมากขึ้นในฐานะผู้ที่อยู่กับธุรกิจมาตั้งแต่เริ่มต้น มีองค์ความรู้ความเข้าใจธุรกิจ ที่ทำให้องค์กรดำเนินได้อีกหลายด้าน

“ธุรกิจไฟฟ้าจะคิดว่าเล่น ๆ เป็นนายทุนทำเพื่อเอากำไร เป็นเสือนอนกิน ไม่ใช่ หลายบริษัทพลาดแค่เลือกเครื่องถูก ประสิทธิภาพไม่ดีเพื่อลดต้นทุนก็ผิดพลาด จะทำอะไรต้องลงลึก เราสร้างมากับมือ ผมจึงอยากใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ผลักดัน BGRIM ไปต่อในทิศทางการดำเนินธุรกิจร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ"

ที่มา : bangkokbiznews